วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ต้นจามจุรี

ต้นจามจุรี

ชื่อพื้นเมือง : ก้ามกราม ก้ามกุ้ง ก้ามปู
(ภาคเหนือ) ฉำฉา ลิง สารสร


ชื่อสามัญ : Rain
Tree East Indian Walnut,Monkey Pod


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Samanea
saman (Jacq.) Merr


ชื่อวงศ์  : LEGUMINOSAE


ลักษณะทั่วไป


        จามจุรีเป็นพืชตระกูลถั่ว (Family Leguminosae) อนุวงศ์สะตอ
(
Sub-Family Mimosaceae) มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Samanea
saman Jacq Merr. ส่วนชื่อที่เป็นที่รู้จักในประเทศไทยได้แก่
จามจุรี ก้ามกลาม จามจุรีแดง ก้ามปู ก้ามกุ้ง (ไทย) ฉำฉา สารสา สำลา ตุ๊ดตู่
ลัง (พายัพ)
ในภาษาอังกฤษชื่อที่เรียกกันแพร่หลาย คือ
Rain tree ซึ่งน่าจะมาจากนิสัยของต้นไม้ชนิดนี้โตเร็วผิดกับต้นไม้อื่นๆ คือ เมื่อฤดูฝนผ่านไปครั้งหนึ่งต้นไม้ชนิดนี้โตเร็วผิดกับต้นไม้อื่นๆ
คือ เมื่อฤดูฝนผ่านไปครั้งหนึ่งต้นไม้นี้จะโตขึ้นอย่างสังเกตเห็นได้ชัด จามจุรีเป็นไม้ผลัดใบโตเร็วต่างประเทศ
เรือนยอดแผ่กว้างคล้ายรูปร่มเรือนยอดสูงประมาณ
40 ฟุต สูง 20
– 30 เมตร เปลือกสีดำ แตกและร่อนลักษณะเนื้อไม้มีลวดลายสวยงาม แก่นสีดำ
แตกและร่อนลักษณะเนื้อไม้มีลวดลายสวยงาม
แก่นสีดำคล้ำคล้ายมะม่วงป่าหรือวอลนัท
เมื่อนำมาตกแต่งจะขึ้นเงาเป็นมันแวววาวนับเป็นพรรณไม้ที่มีลักษณะสวยงามตามธรรมชาติ
กำลังของไม้มีความแข็งแรงเท่าเทียมไม้สมพง แต่มีลักษณะพิเศษคือมีกำลังดัดงอ

(bending strenght) สูงมาก และความชื้นในเนื้อไม้สูงทั้งต้นของจามจุรีมีสารพวกแอลคาลอยด์
(
alkaloid) ชื่อพิธทิโคโลไบ (piththecolobine) ที่มีพิษใช้เป็นยาสลบ

ต้น - ไม้ต้นสูงได้ถึง 20 เมตร
เรือนยอดแผ่กว้างคล้ายรูปร่ม เปลือกสีดำแตกล่อนได้

ใบ - เป็นใบผสมแบบขนนกสองชั้นทั้งใบยาวประมาณ 25 – 40 เซนติเมตร ใบประกอบด้วยช่อใบ4 คู่ ใบย่อย 2 – 10 คู่ ต่อหนึ่งใบ ใบย่อยเกิดบนก้านใบซึ่งแยกจากก้านใหญ่ ใบย่อยรูปขนานเปียกปูนแต่เบี้ยว ใบย่อยด้านปลายใบใหญ่ที่สุดใบย่อยหนาปานกลาง ด้านหน้าใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านหลังใบสีเขียวนวล และมีขนเล็กน้อย


ดอก - เป็นช่อดอกทรงกลม แต่ละช่อรวมกันเป็นช่อใหญ่ ช่อดอกเกิดที่ปลายกิ่ง
กลีบดอกเล็กมาก แต่ละช่อดอกมีดอกตัวเมียดอกเดียว และล้อมรอบด้วยดอกตัวผู้เป็นจำนวนมาก
ดอกบานมีสีชมพูซึ่งเป็นสีของเกสรตัวผู้ จามจุรีออกดอกระหว่างเดือนกุมภาพันธ์
พฤษภาคม

ผล - เป็นฝักแบนเมื่อแก่ก็จะไม่แตก
ฝักแก่จะมีสีน้ำตาลดำขนาดกว้าง 1.5
– 2 เซนติเมตร ยาว 12 – 20 เซนติเมตร
ภายในฝักมีเนื้อนิ่มรสหวาน ฝักหนึ่งๆ มีเมล็ด
15 – 25 เมล็ด
เมล็ดสีน้ำตาลดำยาว
0.5 – 0.8 เซนติเมตร
ฝักแก่ระหว่างเดือนตุลาคม
มกราคม
การค้นพบ


ถิ่นกำเนิด
อเมริกาเขตร้อน ไปจนถึงบราซิล นำเข้ามาปลูกในไทยครั้งแรกที่จังหวัดเชียงใหม่ได้นำมาปลูกที่เมืองไทยครั้งแรกที่เชียงใหม่
เมื่อปี พ.ศ.
2443 โดยนายเอช สเลด เจ้ากรมป่าไม้คนแรกของไทย ต้นใช้เลี้ยงครั่ง เนื้อไม้ลายสวยใช้สำหรับงานแกะสลัก
ใบหมักทำปุ๋ย ทนน้ำท่วมขังและมลพิษ กิ่งเปราะหักง่าย ฝักมีน้ำยางเหนียว
รากแข็งแรง งัดพื้นให้เสียหายได้


การขยายพันธุ์


วิธีปฏิบัติต่อเมล็ดและการเพาะเมล็ด
แช่น้ำร้อนอุณหภูมิ
70 - 80C ทิ้งไว้ให้เย็นเป็นเวลา 16 ชั่วโมงnข้อสังเกตและผลการทดลอง


  • เมล็ดงอกใช้เวลาประมาณ
        
    20 วัน
  • ภายในระยะเวลาประมาณ
        
    4 เดือน ต้นกล้าจะมีความสูงประมาณ 30 ซม. สามารถย้ายปลูกได้

ปัจจุบันจามจุรีสามารถขยายพันธุ์ได้ด้วยเมล็ด ซึ่งผลของจามจุรีนั้นจะแก่ในช่วงฤดูหนาว
ระหว่างเดือนตุลาคม
มกราคม ซึ่งมีการเก็บเมล็ดกันมากในช่วงนี้ในบริเวณที่พบจามจุรี
โดยทั่วๆ ไป สำหรับแหล่งเมล็ดพันธุ์จามจุรีของกรมป่าไม้ คือ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เนื่องจากมีต้นจามจุรีอยู่มาก
ประโยชน์


ประโยชน์ทางด้านเนื้อไม้


        ในปัจจุบันเนื้อไม้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมแกะสลักไม้ภาคเหนือ ซึ่งมีการดำเนินงานในรูปสหกรณ์หัตถกรรมไม้
วัตถุดิบ นอกจากไม้จามจุรีคือไม้สักมีราคาแพงและหายากทำให้ไม้จามจุรีจึงมีบทบาทในการทดแทนไม้สักได้มากขึ้น
ทั้งนี้เนื่องจากไม้จามจุรี ราคาถูก สามารถหาได้ง่ายกว่าไม้สัก เนื้อไม้มีแก่นสีดำคล้ำสวยงาม
เมื่อขัดตกแต่งจะขึ้นเงาแวววาว เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคทุกระดับทั่วไป
เนื่องจากความชื้นในไม้จามจุรีมีมาก ทำให้เกิดปัญหาไม้แตกในระหว่างการแกะสลักหรือหลังจากเป็นผลิตภัณฑ์
วิธีแก้ไข คือ การอบไม้โดยค่อยๆ เพิ่มอุณหภูมิจนกระทั่งไม่มีความชื้นหรือใกล้เคียงกับบรรยากาศทั่วไป


        มูลค่าของไม้แกะสลักที่จำหน่ายจะสูงกว่ามูลค่าไม้แปรรูปเพียงใด ขึ้นอยู่กับประเภทและชนิดของไม้แกะสลักในเรื่องนี้ไม้จามจุรีจะด้อยกว่าไม้สัก
และมูลค่าของไม้แกะสลักจะสูงกว่าไม้แปรรูปถึง
3 เท่า ในปี
พ.ศ.
2521 มูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ไม้แกะสลักสูงถึง 300
ล้านบาท


ประโยชน์ทางด้านอื่นๆ


  • จามจุรีเป็นแม่ไม้ที่ใช้เลี้ยงครั่งได้ผลดีมากชนิดหนึ่งโดยเฉพาะชนิดที่มีดอกสีชมพูเปลือกสีเทาดำ
         ใบเขียวเข้ม ครั่งจะจับได้ดี
         ไม้ชนิดนี้สามารถเลี้ยงครั่งทั้งรอบฤดูร้อนและฤดูฝน แต่ผลผลิตครั่งที่ได้ปริมาณมาก
         คือ ครั่งที่ตัดเก็บในเดือน พฤศจิกายน
    ธันวาคม คุณภาพของครั่งไม้ก้ามปูมีทั้งชั้นคุณภาพ
        
    A และ B ผลผลิตครั่งที่ตัดเก็บได้ประมาณ
        
    5 – 10 กิโลกรัม ต่อต้นเมื่ออายุ 6 ปี ในเนื้อที่ 1 ไร่
         หากต้นจามจุรีมีอายุตั้งแต่
    10 ปีขึ้นไปจะได้ผลผลิตครั่งประมาณ
        
    10 – 50 กิโลกรัม ต่อต้นหรือมากกว่านั้น (น้ำหนักครั่งดิบ)


  • เป็นอาหารสัตว์ ใบและฝักมีคุณประโยชน์มาก
         สำหรับ วัว ควาย ซึ่งมักจะชอบกินใบเขียวและใบอ่อน ฝักจะมีเนื้อที่มีสีน้ำตาลกล่าวว่าถ้าเลี้ยงแม่วัวที่รีดนม
         อาจทำให้นมมีคุณภาพดีขึ้น ฝักแก่ราวเดือนมีนาคม สามารถเก็บรักษาไว้เลี้ยงวัวควายได้ในกรณีหาหญ้าฟางได้ยากหรือมีราคาแพง
         ส่วนผสมของฝักมีคูณค่าดีเท่ากับหญ้าแห้งในการใช้เลี้ยงสัตว์ นอกจากนี้เนื้อในของฝักแก่ที่มีสีน้ำตาลยังสามารถใช้หมักเพื่อผลิตแอลกอฮอล์บริสุทธิ์
         ปรากฏว่าฝัก
    100 กิโลกรัม จะได้แอลกอฮอล์ราว 11.5 ลิตร และฝักนั้นมีผู้นำไปใส่น้ำต้มรับประทานแบบน้ำชา
         มีรสหวาน ประแล่มๆ


  • ปรับปรุงสภาพดินเลวให้ดีขึ้น เนื่องจากเป็นพืชตระกูลถั่วจึงมีคุณสมบัติในการปรับปรุงคุณภาพของดินให้ดีขึ้น
         ใบใช้ทำปุ๋ยหมักได้ โดนเฉลี่ยมีไนโตรเจนถึงร้อยละ
    3.25


  • เป็นไม้ประดับยืนต้น ที่สวยงามเนื่องจากเรือนยอดแผ่กว้างทั้งยังให้ร่มเงาที่ร่มเย็น
         เนื่องจากใบเป็นใบประกอบแบบผสมแบบขนนก ค่อนข้างใหญ่และอยู่ชิดกัน เมื่อพระอาทิตย์ตกดินใบจะหุบเข้าหากันครั้นรุ่งเช้าก็จะคลี่ขยายใบออก
         เพื่อเป็นการช่วยให้น้ำค้างที่ดินอยู่ตามกิ่งก้านหยดลงถึงพื้นดิน บรรดากล้วยไม้ที่เกาะติดอยู่ตามลำต้นและเฟิร์นที่อยู่ตามพื้นดินภายใต้ร่มเงาของจามจุรีจึงเจริญเติบโตได้ดี
        


คุณสมบัติทางด้านเคมี ต้นจามจุรีมีสารจำพวกแอลคาลอยด์
     ซึ่งมีชื่อว่า พิธทิโคโลไบพบตามเปลือก ใบ เมล็ดและเนื้อไม้ แต่ที่ใบมีสารที่เป็นพิษอยู่มากเพราะประกอบด้วยแอลคาลอยด์ที่เป็นพิษอยู่มากเพราะประกอบด้วยแอลคาลอยด์ที่เป็นน้ำมัน
     อนุพันธ์ที่สังเคราะห์ได้จะไปตกผลึกพิธทิโคโลไบเป็นแอลคาลอยด์ที่มีพิษเป็นยาสลบซึ่งมีคุณสมบัติไปทำลายปลายประสาท
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
การจัดนิทรรศการเผยแพร่ความรู้ในการศึกษาพรรณไม้ของต้นจามจุรี








     










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น